- DW ตัวใหม่มีอะไรบ้าง คลิก
DW (Derivative Warrants) หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ซื้อขายในกระดานหุ้นผ่านบัญชีซื้อขายหุ้น เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง
โดยราคาของ DW จะผูกกับราคาหุ้นอ้างอิง
และเปลี่ยนแปลงไปตามราคาหุ้นอ้างอิงซึ่งนักลงทุนดูได้จากตารางราคา DW ที่ผู้ออกแสดงไว้ ( เช่น DW13 ที่ออกโดย KGI จะแสดงไว้ใน thaiwarrant.com) หุ้นอ้างอิงของ DW สามารถอ้างอิงบนหุ้นขนาดใหญ่ใน SET100, ดัชนี SET50 หรือดัชนีต่างประเทศ ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นต้น
ปัจจุบัน เคจีไอ เป็นผู้บุกเบิก DW ภายใต้ชื่อ DW13 และเป็นบริษัทหลักทรัพย์รายแรกที่เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (PTT13CA) แก่นักลงทุนในเดือนมิถุนายน ปี 2552
DW มี 2 ประเภท คือ สิทธิในการซื้อ (Call) และสิทธิในการขาย (Put) หลักทรัพย์อ้างอิง
Call DW :ราคาของ Call DW จะขึ้น/ลงทิศทางเดียวกับหุ้นอ้างอิง เหมาะกับการเก็งกำไรขาขึ้นเมื่อนักลงทุนมองว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้น
Put DW :ราคาของ Put DW จะขึ้น/ลงสวนทางกับหุ้นอ้างอิง เหมาะกับการเก็งกำไรขาลง เมื่อนักลงทุนมองว่าราคาหุ้นจะปรับตัวลง
เมื่อถือจนครบอายุ ผู้ออกจะให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหุ้นอ้างอิงตามราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) เมื่อ DW ที่ถือยังมีมูลค่า (In-the-money) ซึ่งผู้ถือสามารถใช้สิทธิได้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องยื่นเรื่องขอใช้สิทธิ และผู้ถือจะได้รับชำระราคาเป็นเงินสดจากผู้ออก (Cash Settlement) เท่านั้น โดยไม่มีการส่งมอบหุ้นอ้างอิง
ลักษณะ | Warrant | Derivative Warrant |
---|---|---|
ผู้ออก | บริษัทเจ้าของหุ้น | บริษัทหลักทรัพย์ที่ ก.ล.ต.อนุญาต เช่น บล.เคจีไอ (DW13) เป็นต้น |
หุ้นอ้างอิง | หุ้น | หุ้นใน SET100, ดัชนี SET50, ดัชนีหลักทรัพย์อื่นๆ หรืออีทีเอฟ ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์ฯ |
อายุ | ไม่เกิน 10 ปี | 2 เดือน – 2 ปี |
การใช้สิทธิ | ใช้สิทธิในช่วงอายุ เช่น ทุกๆไตรมาส | ใช้สิทธิตอนหมดอายุ |
การส่งมอบ/ชำระราคา | หุ้น | เงินสด |
หลักทรัพย์ที่ส่งมอบ | หุ้นเพิ่มทุนออกใหม่ | ไม่มีการออกหุ้นใหม่ |
Market Maker | ไม่บังคับให้มี | SET กำหนดให้มีขั้นต่ำ 1 ราย (ปกติจะเป็นบล.ผู้ออก DW) |
โดยปกติแล้วนักลงทุนจะนิยมเลือกเก็งกำไร DW ที่มีอัตราทด(Gearing) ประมาณ 4-5 เท่า และอัตราทด (Tick) ประมาณ 0.8-1.0
อัตราทด (Gearing) หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW (%) เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1% เช่น DW มี Effective Gearing เป็น 2 เท่า หมายความว่า เมื่อหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1% ราคา DW จะเปลี่ยนแปลง 2%
อัตราทด (Tick) หรือ Sensitivity หรือ Sensitivity หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW (Tick) เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 Tick เช่น DW มี Effective Gearing เป็น 2 Tick หมายความว่า เมื่อหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 ช่องราคา ราคา DW จะเปลี่ยนแปลง 2 ช่องราคา
นักลงทุนควรเลือก DW ที่มีอายุคงเหลือพอสมควร (อย่างน้อย 1 เดือน) เพราะถึงแม้ว่า DW ที่มีอายุคงเหลือน้อยจะมีอัตราทดที่สูงกว่าและมูลค่าทางเวลาที่ต่ำกว่า แต่การที่อายุเหลือน้อยจะทำให้มูลค่าทางเวลาลดลง (Time Decay) รวดเร็วกว่า DW ที่อายุคงเหลือมากกว่า
มูลค่าทางเวลา = ราคา DW - มูลค่าที่แท้จริง
DW ที่มีอายุคงเหลือสูง จะมีมูลค่าทางเวลาสูง แต่ Time Decay ต่ำ ทำให้ถือได้นาน
สถานะของ DW เป็นตัวกำหนดอัตราทดของ DW โดย DW ที่นักลงทุนนิยมในการเก็งกำไรจะเป็น DW ที่มีสถานะ Out-of-the-Money เพราะมีอัตราทดสูงกว่า
ตัวอย่างราคาใช้สิทธิ (สมมติราคาหุ้นอยู่ที่ 100 บาท) |
Moneyness ( สถานะของ DW ) |
Effective Gearing ( อัตราทด ) |
---|---|---|
120 บาท |
Out-of-the-Money
( Call DW: ราคาใช้สิทธิ > ราคาปัจจุบัน ) |
สูงมาก |
100 บาท |
At-the-Money
( Call DW: ราคาปัจจุบัน = ราคาใช้สิทธิ ) |
สูง |
80 บาท |
In-the-Money
( Call DW: ราคาปัจจุบัน > ราคาใช้สิทธิ ) |
ต่ำ |
เป็นตัวบ่งชี้ว่าราคา DW ตัวนั้นๆ "แพงเกินไปหรือไม่?" ค่า IV สูงทำให้ราคา DW สูงขึ้น แต่นักลงทุนต้องพิจารณาลักษณะของ DW เสมอ ก่อนที่จะนำ IV มาพิจารณาร่วมด้วย เพราะนักลงทุนไม่จำเป็นต้องเลือก DW ที่ต่ำสุดเสมอไป ควรเน้นเลือก DW ที่มี IV ไม่สูงมากและมี IV ย้อนหลังไม่เปลี่ยนแปลง
เป็นส่วนสำคัญในการทำหน้าที่ วาง Bid-Offer ของ DW ตามราคาหุ้นแม่ในปริมาณที่เพียงพอเพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขาย DW ด้วยสภาพคล่องที่สูง นักลงทุนควรเลือก DW ที่ Market Maker ที่มีประสบการณ์ยาวนานและมีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง เพื่อป้องกันปัญหาการซื้อขาย DW ในวันที่ตลาดมีความผันผวนมาก คลิปตัวอย่างการทำงาน DW MM
1) เพิ่มความสามารถในการลงทุน (Gearing) เงินที่นักลงทุนต้องจ่ายเพื่อซื้อ DW คิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่จะต้องใช้ซื้อหุ้น ดังนั้นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนใน DW จะสูงกว่าการลงทุนในหุ้นมาก (กำไรมากกว่าและขาดทุนก็อาจมากกว่า)
2) เพื่อการบริหารเงิน กรณีนักลงทุนมีหุ้นอ้างอิงอยู่แล้ว ถ้าเปลี่ยนจากถือหุ้นอ้างอิงมาถือ DW แทน จะใช้เงินลงทุนน้อยลง และสามารถบริหารเงินส่วนเกินเพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่าได้
3) เป็นการลงทุนที่ไม่จำกัดผลตอบแทน แต่จำกัดความเสี่ยง ความเสี่ยงของผู้ถือจึงถูกจำกัดไว้เพียงต้นทุนของ DW ที่จ่ายไปเท่านั้น (DW ไม่มีการเรียกให้นักลงทุนวางหลักประกันเพิ่มไปเรื่อยๆในกรณีที่ราคาหุ้นสวนทางกับสถานะการลงทุนใน DW) ในขณะที่ผลตอบแทนเป็นจำนวนเงินจาก DW จะเทียบเท่ากับผลตอบแทนจากการถือหุ้นอ้างอิง
4) ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ DW ต้องมีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) อย่างน้อย 1 ราย ทำให้นักลงทุนสบายใจได้ว่าสามารถซื้อขาย DW ได้โดยไม่มีผลกระทบต่อราคา DW
1) ความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือของผู้ออก เมื่อ DW ครบกำหนดอายุนักลงทุนที่ถือ DW สามารถนำ DW ไปใช้สิทธิกับผู้ออกได้ ทำให้มีความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือของผู้ออก DWหรือความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงนี้ทาง ก.ล.ต. ได้กำหนดเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ที่สามารถออก DW ไว้โดยพิจารณาจากสถานะทางการเงินและความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของผู้ออก นักลงทุนจึงวางใจได้ส่วนหนึ่งว่า ผู้ออกต้องมีความน่าเชื่อถือและความสามารถที่จะบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐาน
2) ความเสี่ยงด้านราคา DW และอัตราทด ทางทฤษฏีแล้วราคา DW ถูกกำหนดโดย 5 ปัจจัยได้แก่ ราคาหุ้นอ้างอิง, ความผันผวนของหุ้นอ้างอิง, อายุคงเหลือของ DW และเงินปันผลของหุ้นอ้างอิง โดยปกติแล้วปัจจัยราคาหุ้นอ้างอิงจะมีผลกระทบที่รุนแรงที่สุดและทำให้ราคา DW แกว่งตัวรุนแรง โดยเฉพาะ DW ที่มีอัตราทดสูงถึงแม้จะมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงแต่ก็มีความเสี่ยงสูงตาม นักลงทุนอาจขาดทุนจากการซื้อ DW บนเงินลงทุนทั้งหมดได้
3) DW มีอายุจำกัด การลงทุนใน DW แตกต่างจากการลงทุนในหุ้น โดยที่ DW จะมีอายุจำกัดทำให้เมื่อเวลาผ่านไปมูลค่าของ DW จะลดลงไปหรือที่เรียกว่าการลดลงของมูลค่าทางเวลา (Time Decay) นักลงทุนต้องศึกษาถึงผลกระทบเรื่องมูลค่าทางเวลาและวันทำการซื้อขายและวันครบกำหนดอายุของ DW รวมทั้งเงื่อนไขในการใช้สิทธิเป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจลงทุนใน DW