|
Term |
ไทย |
ความหมาย |
1 |
At The Money |
|
สถานะของ Call และ Put DW เมื่อราคาหลักทรัพย์อ้างอิง = ราคาใช้สิทธิ |
2 |
Break-Even Point |
จุดคุ้มทุน |
ระดับราคาหลักทรัพย์อ้างอิงที่ทำให้ DW มีกำไรหรือขาดทุนเท่ากับ 0 หากถือ DW ตัวนั้นจนถึงวันซื้อขายสุดท้าย
Call DW : จุดคุ้มทุน = (ราคา DW ที่ซื้อ x อัตราการใช้สิทธิ) + ราคาใช้สิทธิ
Put DW : จุดคุ้มทุน = ราคาใช้สิทธิ - (ราคา DW ที่ซื้อ x อัตราการใช้สิทธิ) |
3 |
Call DW |
|
ราคา Call DW จะปรับขึ้นหรือลงทิศทางเดียวกับหลักทรัพย์อ้างอิง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวขึ้น |
4 |
Cash Settlement |
การชำระราคาเป็นเงินสด |
การชำระราคาเป็นเงินสด ณ วันที่ DW ครบกำหนดอายุ โดยคำนวณจากส่วนต่างของราคาของหลักทรัพย์อ้างอิง ณ วันที่ผู้ออก DW กำหนด กับราคาใช้สิทธิ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิ (ถ้ามี) |
5 |
Delta |
เดลต้า หรือ ขนาดการเปลี่ยนแปลงของราคา DW |
เป็นเครื่องมือที่ใช้บ่งชี้ความอ่อนไหวของราคา DW เทียบกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์อ้างอิง ยกตัวอย่าง หากราคาหลักทรัพย์อ้างอิงเพิ่มขึ้น 1 บาท (จาก 200 บาท เป็น 201 บาท) ราคา Call DW เพิ่มขึ้น 0.01 บาท (จาก 0.30 บาท เป็น 0.31 บาท) ดังนั้น Delta จะเท่ากับ 1% (0.01 บาท/1 บาท)
Call DW : 0% ? Delta ? 100%
Put DW : -100% ? Delta ? 0% |
6 |
Derivative Warrants (DW) |
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ |
เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายได้ผ่านกระดานซื้อขายหลักทรัพย์ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ Call DW และ Put DW และตราสารนี้มีอายุจำกัดโดยระบุวันหมดอายุไว้ในลักษณะของ DW แต่ละตัว |
7 |
Derivatives |
ตราสารอนุพันธ์ |
ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์หรือตัวแปรอ้างอิง (Underlying Assets) ได้แก่ หุ้นสามัญ ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
ประเภทของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) ออปชั่น (Options) สวอป (Swap)
ประโยชน์ของตราสารอนุพันธ์ คือ เพิ่มตัวเลือกในการลงทุน สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง หรือ ใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง |
8 |
Effective Gearing (Tick) |
อัตราทด (Tick) |
ผู้ลงทุนที่จะซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานหลัก (Main Board) ต้องระบุจำนวนหลักทรัพย์ที่ต้องการจะซื้อหรือขายเป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขาย หรือ 1 Board Lot เท่ากับ 100 หุ้น เช่น ต้องการซื้อหุ้นบริษัท ก. จำนวน 10 หน่วยการซื้อขาย จะเท่ากับ 1,000 หุ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่หลักทรัพย์ใดมีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนต่อเนื่องกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายของหลักทรัพย์นั้นเท่ากับ 50 หุ้น |
9 |
Effective Gearing (เท่า) |
อัตราทด (เท่า) |
อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW (%) เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1% เช่น DW มี Effective Gearing เป็น 2 เท่า หมายความว่า เมื่อหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1% ราคา DW จะเปลี่ยนแปลง 2% |
10 |
Equity Link Note(ELN) |
|
เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ปกติจากค่าพรีเมียมของออปชั่น |
11 |
Exercise Ratio |
อัตราการใช้สิทธิ |
อัตราส่วน จำนวน DW : สิทธิซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิง 1 หุ้น ตัวอย่างเช่น นาย ก ถือ Call DW ของหุ้น A จำนวน 200 หน่วย ที่อัตราการใช้สิทธิ 10 DW ต่อ 1 หุ้น A นาย ก มีสิทธิซื้อหุ้น A = 200 / 10 = 20 หุ้น |
12 |
Expected Volatility |
|
ความผันผวนของราคาหลักทรัพย์อ้างอิงที่นักลงทุนคาดการณ์ในอนาคต |
13 |
Gamma |
|
อัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าเดลต้าต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์อ้างอิง เปรียบเสมือนตัววัดอัตราเร่งในการเปลี่ยนแปลงราคา DW ค่า Gamma จะมีค่าสูงสุดเมื่อราคาใช้สิทธิเท่ากับราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปัจจุบัน |
14 |
Hedging |
|
การป้องกันความเสี่ยง เช่น เมื่อ Issuer ขาย Call DW ให้แก่นักลงทุน Issuer จะซื้อหุ้นแม่เพื่อทำการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หรือ เมื่อ Issuer ขาย Put DW ให้แก่นักลงทุน Issuer จะชอร์ตหุ้นแม่เพื่อทำการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้น |
15 |
Historical Volatility |
|
ความผันผวนของราคาหลักทรัพย์อ้างอิงที่เกิดขึ้นในอดีต |
16 |
Implied Volatility |
ความผันผวนเชิงนัย |
ค่าความผันผวนของหุ้นอ้างอิงในอนาคตที่สะท้อนผ่านราคาซื้อขาย DW หรือ ออปชั่นในกระดานซื้อขาย |
17 |
In the money |
|
สถานะของ DW
กรณี Call DW: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ
กรณี Put DW: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ |
18 |
Index DW |
|
คือ DW ที่อ้างอิงกับดัชนีหุ้น โดย Index DW ที่นิยมที่สุดในประเทศไทยจะเป็น SET50 DW โดยจะมีสัญลักษณ์ขึ้นต้นว่า "S50" |
19 |
Intrinsic Value |
มูลค่าที่แท้จริง |
มูลค่าที่แท้จริงของ DW คำนวณมาจาก
กรณี Call DW: (ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง - ราคาใช้สิทธิ) / อัตราใช้สิทธิ
กรณี Put DW: (ราคาใช้สิทธิ - ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง) / อัตราใช้สิทธิ |
20 |
Issuer |
ผู้ออก DW |
บริษัทหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้ออก DW ได้ |
21 |
Last trading Day |
วันทำการซื้อขายสุดท้าย |
วันทำการสุดท้ายที่สามารถซื้อขาย DW ได้ และทางผู้ออกจะใช้ราคาปิดของหุ้นอ้างอิงในวันนี้ในการคำนวณเงินสดส่วนต่างสุทธิ
|
22 |
Leverage |
อัตราทด (Tick) |
การที่ผู้ลงทุนใช้เงินลงทุนเท่าเดิม แต่มีโอกาสที่จะได้กำไร(หรือขาดทุน)มากกว่าเดิม เช่น การลงทุนซื้อ DW ที่มีอัตราทด 4 เท่า นักลงทุนสามารถใช้เงินลงทุนใน DW เท่าเดิมของเงินลงทุนในหุ้นแม่ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 4 เท่า (หรืออาจจะขาดทุน 4 เท่า)
|
23 |
Liquidity |
สภาพคล่อง |
ความสามารถในการเปลี่ยนหลักทรัพย์เป็นเงินสด ยกตัวอย่างเช่น หากถือ DW อยู่แล้วต้องการขาย แล้วสามารถขายได้ตรงตามตารางราคารับซื้อคืน ถือว่า DW ตัวนั้นมีสภาพคล่องสูง |
24 |
Market Maker |
ผู้ดูแลสภาพคล่องการซื้อขาย |
บริษัทหลักทรัพย์ที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องต่อ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ทีทำหน้าที่เสนอซื้อเสนอขายเพื่อให้มีราคาปรากฏอยู่บนกระดานซื้อขายหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ลงทุนจะมีความมั่นใจว่าจะสามารถซื้อขายได้เมื่อต้องการ เนื่องจากมีราคาเสนอซื้อเสนอขายตลอดเวลา |
25 |
Moneyness |
|
ตัวบอกสถานะของ DW บอกความแตกต่างระหว่างราคาหลักทรัพย์อ้างอิงเทียบกับราคาใช้สิทธิเป็นเปอร์เซนต์ควบคู่ไปกับสถานะของ DW
กรณี Call DW
- In-the-money: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง > ราคาใช้สิทธิ
- At-the-money: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง = ราคาใช้สิทธิ
- Out-of-the-money: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ
กรณี Put DW
- In-the-money: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ
- At-the-money: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง = ราคาใช้สิทธิ
- Out-of-the-money: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง > ราคาใช้สิทธิ
|
26 |
Option |
ออปชัน |
สัญญาที่ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในอนาคต ตามราคาและจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญา โดยผู้ที่ซื้อออปชันจะถือว่าเป็นผู้ที่มีสิทธิในการตัดสินใจว่าจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ซื้อออปชันจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ขายออปชัน เป็นการตอบแทนเพื่อแลกกับการได้สิทธิตามสัญญานั้น |
27 |
Out of the Money |
|
สถานะของ DW
กรณี Call DW: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ
กรณี Put DW: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง > ราคาใช้สิทธิ |
28 |
Outstanding |
จำนวนหน่วยถือครองโดยนักลงทุน |
จำนวนหน่วย DW ที่ถือครองโดยนักลงทุน ณ วันที่ระบุ |
29 |
Over-The-Counter |
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นอกระบบตลาด |
การซื้อขายแบบการตกลงกันเองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยทำการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์นอกระบบตลาด |
30 |
Premium |
|
เปอร์เซนต์ที่หุ้นอ้างอิงต้องปรับขึ้น (กรณี Call) หรือ ปรับลง (กรณี Put) เมื่อเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบัน เพื่อคำนวณจุดคุ้มทุนกรณีที่ถือ DW จนครบกำหนดอายุเท่านั้น ดังนั้น ค่า Premium จึงไม่ควรใช้สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรบน DW ระยะสั้น และไม่ควรใช้เป็นตัวเปรียบเทียบความแพงหรือถูกของ DW ที่มีราคาใช้สิทธิ และอายุต่างกัน (Implied Volatility จะเหมาะสมกว่าในการเปรียบเทียบ) |
31 |
Put DW |
|
ราคา Put DW จะขึ้นหรือลงสวนทางกับหลักทรัพย์อ้างอิง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวลง |
32 |
Stability of Implied Volatility |
เสถียรภาพ IV |
เนื่องจากค่า Implied Volatility เป็นดัชนีชี้วัดระดับราคาของ DW ดังนั้นค่าเสถียรภาพ Implied Volatility เป็นค่าที่นักเก็งกำไร DW ต้องให้ความสำคัญมากเพราะการซื้อ และขาย DW ควรซื้อขายที่ Implied Volatility ใกล้เคียงเดิม |
33 |
Stock DW |
มูลค่าที่แท้จริง |
คือ DW ที่อ้างอิงกับหุ้นรายตัว โดยหุ้นที่สามารถให้ใช้อ้างอิงจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ถึงกลาง มีสภาพคล่องสูง ประกาศโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ |
34 |
Structured Note |
|
หุ้นกู้อนุพันธ์เป็นหุ้นกู้ที่มีตราสารอนุพันธ์เข้ามาผสมเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากหุ้นกู้ปกติ หุ้นกู้อนุพันธ์มีหลายชนิดโดยชนิดที่นิยมที่สุดเรียกว่า Equity-Linked Note (ELN) |
35 |
Theta |
เทต้า หรือ ขนาดการเปลี่ยนแปลงของราคา DW เทียบกับอายุคงเหลือของ DW |
เรียกอีกอย่างว่า Time Decay เป็นค่าที่แสดงว่ามูลค่าของ DW จะลดลงไปเท่าไรเมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน |
36 |
Time Decay |
|
การลดลงของมูลค่า DW เมื่อเวลาผ่านไป โดยปกติจะระบุในหน่วย บาท/วัน เพื่อนักลงทุนจะได้พิจารณามูลค่าที่ลดลงเป็นรายวัน |
37 |
Time value |
มูลค่าทางเวลา |
ส่วนต่างระหว่างราคา DW ที่ซื้อขายในกระดานกับมูลค่าที่แท้จริงของ DW ตัวนั้น หรืออีกนัยหนึ่งคือมูลค่าของ DW ส่วนที่เกิดจากอายุที่เหลืออยู่ ยิ่งอายุเหลืออยู่มาก มูลค่าทางเวลาจะมาก เพราะ DW นั้นยังมีโอกาสที่จะทำกำไรได้นานกว่า มูลค่าทางเวลา = ราคา DW - มูลค่าที่แท้จริง |
38 |
Underlying Asset |
หุ้นอ้างอิง หรือ ดัชนีอ้างอิง |
หุ้นหรือดัชนีที่ DW ใช้อ้างอิง โดยราคาDWจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามราคาของหุ้นหรือดัชนีนั้น โดยสังเกตุได้สัญลักษณ์ขึ้นต้นของ DW ที่จะมีระบุชื่อหุ้นหรือดัชนีที่อ้างอิง |
39 |
Vega |
เวก้า หรือ ขนาดการเปลี่ยนแปลงของราคา DW เทียบกับการเปลี่ยนแปลงของความผันผวน |
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดความไวของการเปลี่ยนแปลงราคา DW ต่อการเปลี่ยนแปลงของความผันผวนของหลักทรัพย์อ้างอิง ค่าเวก้าจะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0 เสมอ โดย DW ที่ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปัจจุบันใกล้กับราคาใช้สิทธิจะมีค่าเวก้ามากกว่า DW ที่ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปัจจุบันอยู่ห่างจากราคาใช้สิทธิ |
40 |
Volatility |
ความผันผวน |
สะท้อนความผันผวนของราคาหุ้น โดยหุ้นที่มีค่า Volatility สูงกว่าแสดงว่ามีการแกว่งตัวของราคาที่ผันผวนกว่า |